วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

วันสำคัญของชาวพุทธ


วันมาฆบูชาต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหารกรุงราชคฤห์เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษการปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธีกิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา๑. ทำบุญใส่บาตร๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา๓. ไปเวียนเทียนที่วัด๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ







วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส ก็เลื่อนออกไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ๑. เป็นวันประสูติ๒. เป็นวันตรัสรู้๓. เป็นวันปรินิพพานด้วยเหตุตามที่กล่าวมา วันวิสาขบูชาจึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อถึงวันเช่นนี้ พุทธศาสนิกชนถ้วนหน้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมใจกันน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า ประกอบพิธีบูชาด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพเป็นอย่างยิ่งการบูชาอันเนื่องด้วยวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาดังกล่าวมาก็ควรที่จะกล่าวประวัติไว้เพื่อเป้นการเจริญศรัทธา ความเชื่อและปสาทะความเลื่อมใสต่อไปประสูติพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาเอกของโลก เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำบุญญาธิการไว้ในสำนักของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธเจ้าทรงพระนาม ทีปังกรเป็นต้นมาถึง ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์ จนได้รับพยากรณ์จากสำนักของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์นั้นว่า "จะได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในอนาคต" พระองค์ได้บำเพ็ญพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นเป็นต้น และได้รวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ๑. มนุสฺสตฺตํ เป็นมนุษย์๒. ลิงคสมฺปตฺติ เป็นเพศชาย๓. เหตุ มีอุปนิสัยสมบัติที่จะบรรลุมรรคผลได้๔. สตฺถารทสฺสนํ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่๕. ปพฺพชฺชา บวชเป็นดาบสหรือพระภิกษุอยู่๖. คุณสมฺปตฺติ ได้สมาบัติ ๘ และ อภิญญา ๕๗. อธิกาโร อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้๘.ฉนฺทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธกากรธรรมธรรมทั้ง ๘ ประการนี้เรียกว่า "อภินิหาร"พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำอภินิหารแทบเบื้องยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ได้บำเพ็ญบารมีและพิจารณาถึงพุทธการกธรรมมาโดยลำดับตราบจนถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาด้วยมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือหมู่เวไนยสัตว์ทั่งข้องอยู่ในวัฏฏะให้ข้ามพ้นจากวัฏฏะ ดังนั้นพระองค์เมื่อจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ก็ย่อมเสด็จอุบัติขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นจากทุกข์ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกเป็นไฉน ? คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"อีกประการหนึ่ง ความปรารถนาของพระพุทธเจ้าจะปรากฏง่าย ๆ เหมือนสามัญชนก็หาไม่ แท้ที่จริงแล้วความปรากฏของพระพุทธเจ้าเป็นการยาก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคลผู้เอกหาได้ยากในโลก, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน? คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคลผู้เอกนี้แล หาได้ยากในโลก"พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นอัจฉริยมนุษย์ที่พิเศษกว่ามวลมนุษย์ทั้งหลาย เกิดขึ้นในโลก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน? คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์"พระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก จะมีใคร ๆ ในโลกที่จะเปรียบเทียบเสมอกับพระองค์ย่อมไม่มี ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่ ๒ ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ? คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่ ๒ ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย"ความปรากฏของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษของโลก ย่อมจะให้สำเร็จสิ่งที่ประสงค์ทุกประการ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก เป็นความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอกาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล, บุคคลผู้เอกเป็นไฉน ? คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล"พระพุทธพจน์ดังกล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า วันประสูติของพระพุทธเจ้านับว่าเป็นวันที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันเกิดของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นอัจฉริยมนุษย์ เป็นผู้สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จะหาบุคคลที่เสมอเหมือนไม่มีในโลก ดังที่พระองค์ทรงเปล่งกล่าวอาสภิวาจาว่า"อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, เสฏฺโฐหสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก"การประสูติของพระพุทธเจ้าที่สวนลุมพินี ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะต่อกัน ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้น วันประสูติของพระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตรัสรู้พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายได้ทรงตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ประการ หรือที่เรียกว่า "อริยสัจ ๔ ประการ" ซึ่งเป็นของจริงอย่างประเสริฐที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองที่โคนต้นโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอนมาก่อนเลย ดังที่พระองค์ตรัสว่า"เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมที่เป็นไปในภพ ๓ ทั้งหมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราไม่มี บุคคลที่เสอมเหมือนเราก็ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดาซึ่งไม่มีศาสดาอื่นยิ่งกว่า เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลสได้แล้ว"ชาวโลกจึงพากันขนานพระนามแด่พระองค์ว่า "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเราตถาคตตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ เหล่านี้ตามความเป็นจริง ชาวโลกจึงเรียกตถาคตว่า เป็นองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราตถาคตได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ประชาสัตว์ สมณ พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์, เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ ประการนี้จึงเรียกว่า อริยสัจ"จริงอยู่ อริยสัจ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน ไม่มีผิดพลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ไม่สามารจะคัดค้านหรือปฏิเสธได้ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, สัจจะ ๔ ประการนี้ได้แก่อะไร ? ได้แก่ ทุกข์ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, สมุทัย เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, นิโรธ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น, มรรค เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่แปรเป็นอื่น"และธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมที่มีความสุขุมละเอียดลึกซึ้งยิ่งนัก มิใช่ธรรมที่ผู้มีกิเลสหนาปัญญาหยาบจะตามรู้ได้โดยง่าย ดังที่พระพุทธองค์ทรงมีพระปริวิตกเมื่อคราวที่ตรัสรู้ใหม่ ๆ ว่า"ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้แล เป็นธรรมอันลึกซึ้ง พิจารณาเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่สงบระงับ ประณีต ตรึกตรองเอาเองไม่ได้ เป็นธรรมอันละเอียด รู้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นบัณฑิต"การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่โคนต้นโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น เป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาปรินิพพานการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษที่สำคัญที่สุดของโลก ก็เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เป็นการดับสลายไปแห่งดวงตาของโลกชั่วนิจนิรันดร์ เป็นเหตุให้หมู่ประชาต้องโศกเศร้าอาลัยถึงด้วยความเสียดายในพระพุทธองค์ผู้เป็นดวงตาอันยิ่งใหญ่ของชาวโลก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรินิพพานของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นเหตุเดือดร้อนใจ อาลัยอาวรณ์ของชนเป็นอันมาก, บุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษเป็นไฉน ? คือ พระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรินิพพานของบุคคลผู้เป็นเอกอัครมหาบุรุษ เป็นเหตุเดือดร้อนใจ อาลัยอาวรณ์ของชนเป็นอันมาก"การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่ร่มไม้สาละ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น เป็นวันที่ชาวโลกต้องสูญเสียบุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะเหตุนั้น วันเสด็จดับขันธปริพพานของพระพุทธเจ้านั้นจึงนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว วันประสูติ และ วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นวันนำมาซึ่งประโยชน์ ซึ่งความสุข ความเจริญ ความชื่นชม โสมนัสปรีดา และปราโมทย์แก่ชาวโลกทั้งปวง เพราะเป็นวันที่ชาวโลกได้บุคคลที่สำคัญที่สุดของโลก ส่วนวันดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้น เป็นวันที่นำมาซึ่งความทุกข์ระทม โศกเศร้า อาลัยอาวรณ์เดือดร้อนใจของชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันที่ชาวโลกต้องสูญเสียเอกอัครมหาบุรุษผู้สำคัญที่สุดของโลก วันทั้ง ๓ นี้ ตกอยู่ในวาระเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน วิสาขะ) วันนี้จึงนับว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาในอภิลักขิตสมัยวันวิสาขบูชานี้ เราทั้งหลายผู้เป็นชาวพุทธ พึงกระทำประทักษิณเวียนรอบอุโบสถ หรือปูชนิยสถาน ๓ รอบ บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการบูชา ๒ ประการ คือ๑. อามิสบูชา การบูชาด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น๒. ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีความพร้อมเพรียงกัน ตั้งตนไว้ชอบและไม่ประมาทขาดสติสัมปชัญญะให้เป็นไปด้วยดีในวันวิสาขบูชา อันเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาซึ่งเวียนมาบรรจบครบรอบปี ก็จักไม่ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ และได้ชื่อว่ากระทำการสักการะบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง คือ บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามธรรมสมควรแก่ธรรม และจะได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์อย่างแท้จริงคำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันวิสาขบูชา ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพัรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ- สาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, สะวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, อะยัง โข ปะนะ ปะฏิมา ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะกะตา, ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตะวา ปะสาเทนะ สังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตะวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหตะวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตะวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ปะฏิมัง ติกขักตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา, สาธุ โน ภันเต, ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.


วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ในหลวงกับเทคโนโลยี

1.ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/ka-set_1.htm
2.ทฤษฎีใหม่ : การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ
ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดล พระราช หฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ
4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้วเมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง"ทฤษฎีใหม่"เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นณวัดมงคลชัยพัฒนาตำบลห้วยบงอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีแนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ให้แบ่งพื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 คือ
ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตรโดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น2ส่วนคือร้อยละ30ในส่วนที่หนึ่ง:ทำนาข้าวประมาณ5ไร่ร้อยละ30ในส่วนที่สองปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของ พื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าหากแบ่ง แต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่ เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทย อุบัติขึ้นในครั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุข ของชาวไทย

3.ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดิน ที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ“หญ้าแฝก”ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกัน การชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วยจึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Vetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash)เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อ จากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้ การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 1. การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้ 2. การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก 3. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน 4. การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน 5. การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา 6. การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน 7. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม 8. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทางและปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน 9. การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น 10. การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก - ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน - ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้ - หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”